ประกอบไปด้วย สภาเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเยาวชนSYDN โคราช เครือข่ายองค์กรงดเหล้า มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เครือข่ายเยาวชนโคราชยิ้ม เครือข่ายเด็กเยาวชนสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดนครราชสีมา พวกเราเครือข่ายเด็กเยาวชน แกนนำไม่น้อยกว่า 300 คน ได้ดำเนินโครงการเชิงปฏิบัติการร่วมสร้างสรรค์ชุมชน และเมือง โดยการรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจ เท่าทัน เสริมทักษะ และเพิ่มพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และสร้างเสริมสุขภาวะ ไม่น้อยกว่า 50 โครงการ ใน 32 อำเภอ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีเป้าหมายร่วมกันสู่ โคราชเมืองแห่งความสุข ของทุกคน
สืบเนื่องจากปัจจุบัน เมืองของเราอยู่ในยุคโลกผันผวนและสลับซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านอย่างรวดเร็ว เช่น เทคโนโลยี โรคอุบัติใหม่ ภัยพิบัติ สิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบกับวิถีชีวิต ความเครียด สุขภาพ และเศรษฐกิจในชุมชน รวมไปถึงปัญหาปัจจัยเสี่ยง สารเสพติด (เหล้า บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา กระท่อม) เข้าถึงง่าย ผู้คนไม่เท่าทันโซเชียลมีเดีย การบูลูลี่กลั่นแกล้ง เป็นภัยต่อวิถีชีวิต และส่งผลกระทบต่อสังคม และปัญหาความเหลื่อมล้ำ ทั้งในมิติ การคมนาคม บริการขนส่งสาธารณะไม่พียงพอ การเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้ใช้การบริการยังไม่ทั่วถึง และความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา เด็กเยาวชนหลุดออกจากระบบ การเรียนรู้ของเด็กหยุดชะงัก รวมถึงพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สาธารณะ พื้นที่สร้างสรรค์ กิจกรรมสร้างสรรค์ ยังไม่หลากหลาย ขาดการสนับสนุนการสร้างความเข้าใจและมีข้อจำกัดของพื้นที่ ทุกประเด็นทุกมิติของปัญหา ล้วนไม่เอื้อต่อการพัฒนาเมืองหรือการใช้ชีวิตของผู้คน
ผนึกความร่วมมือ สานพลังจิตอาสาเครือข่ายพลเมืองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครราชสีมาปักธง 32 อำเภอ โคราชเมืองปลอดภัย เมืองสร้างสรรค์ เมืองสร้างสุข เพื่อเด็กเยาวชนและทุกคน โดยมีข้อเสนอแนวทางการ ร่วมสร้างและพัฒนาเมือง ดังนี้
1. เพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์ในการแสดงศักยภาพ แสดงความคิดเห็น การแสดงออกสร้างสรรค์ เป็นพื้นที่รวมพลังของเด็กเยาวชนอย่างหลากหลาย
2. ส่งเสริมความเป็นพลเมืองให้กับทุกคน พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันตนเอง เท่าทันสื่อ เท่าทันสังคม มีภูมิรู้ และมีทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม
3. พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ที่หลากหลาย และส่งเสริมสร้างการการรับรู้ ทุกคนเข้าถึงง่าย
4. สร้างช่องทาง ให้ทุกคนได้เข้าใจสิทธิขั้นพื้นฐาน และเข้าถึงสิทธิและได้ใช้การบริการอย่างทั่วถึง
5. จัดทำแผนการสื่อสารรณรงค์เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยเสี่ยง สร้างการรับรู้ ตระหนัก และเท่าทัน
6. บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีมาตรการที่เหมาะกับบริบทและพื้นที่
#ปักธง 32 อำเภอ โคราชเมืองแห่งความสุข ของทุกคน