แชร์

ก้าว 7 ปี สรุปย่อโคราชเมืองสร้างสรรค์

อัพเดทล่าสุด: 29 ส.ค. 2024
20 ผู้เข้าชม
ก้าว 7 ปี สรุปย่อโคราชเมืองสร้างสรรค์

โคราชยิ้ม... โคราชเดิ่นยิ้ม

เครือข่ายโคราชยิ้ม มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมพื้นที่การเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพเด็กเยาวชน มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ชุมชน สังคม

เครือข่ายโคราชยิ้ม เริ่มดำเนินงานอย่างจริงจัง ในปี 2560 โดยส่งเสริมเด็กเยาวชนกลุ่มแกนนำสู่ความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ เป็นนักสื่อสาร สู่การเป็นนักปฏิบัติการ พลังเด็กเยาวชนเดิ่นยิ้มปลุกชุมชน ในรูปแบบของ สร้างสรรค์ศิลปะชุมชน  ผลิตสื่อสร้างสรรค์ กระบวนการกิจกรรม ศิลปะการแสดงสร้างสรรค์ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์สร้างการเรียนรู้ในชุมชน และมีกลไกการเชื่อมร้อยเครือข่ายสร้างประเด็นวาระด้านเด็กเยาวชนและพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนสื่อสารสังคม และนโยบาย  โดยกลุ่มเด็กเยาวชนเครือข่ายโคราชยิ้ม สภาเด็กเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา น.ศ.มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เครือข่ายมหาวิทยาลัยปลอดเหล้า เครือข่ายองค์กรงดเหล้าอิสานล่าง(โคราช) ได้สะท้อนและเสนอประเด็นสถานการณ์ปัญหา เด็กเยาวชนขาดพื้นที่ ขาดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ขาดการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเข้าใจ มีสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ พัฒนา และสร้างสรรค์ มีพฤติกรรมเข้าถึงปัจจัยเสี่ยงได้ง่าย  สิ่งที่เด็กเยาวชนควรได้รับ คือการเข้าถึงปัจจัยด้านบวก สร้างทักษะภูมิคุ้มกัน ทักษะการรู้เท่าทัน ทั้งการสร้างภูมิรู้ ภูมิปัญญาส่งเสริมวิชาชีวิต และวิชาทางสังคม รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง  ที่สำคัญต้องเพิ่มพื้นที่และสื่อสร้างสรรค์ ให้เด็กเยาวชนได้เข้าถึงได้ง่ายและมากขึ้น หากเด็กเยาวชนได้มีกิจกรรมสร้างสรรค์ มีพื้นที่ ที่มีส่วนร่วมสร้างสรรค์กับชุมชน เด็กจะเกิดความภูมิใจ เห็นคุณค่าในตัวเอง ในชุมชน และสังคม ของตนเอง มาช่วยกันให้เด็กเยาวชนได้เติบโตท่ามกลางเมืองสังคม ที่เด็กเยาวชนรู้สึกปลอดภัย และอยากเรียนรู้ ร่วมพัฒนา ร่วมสร้างสรรค์ ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่ ชุมชน เมือง ให้โคราชเป็นเมืองสร้างสรรค์ เมืองน่าอยู่ และมีชีวิตชีวา โดยได้มีการเสนอต่อ 3 ภาคส่วน ต่อเครือข่ายเด็กเยาวชนและคนทำงานด้านเด็กเยาวชน ต่อชุมชนภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม และต่อกลไกหน่วยงานท้องถิ่นและจังหวัด ทำให้เกิดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานเด็กเยาวชนในระดับพื้นที่ มุ่งส่งเสริมพื้นที่การเรียนรู้ และพลังสร้างสรรค์ของเด็กเยาวชน มีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง อยากเห็นโคราช เป็นเมืองที่น่าอยู่ เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเมืองสร้างสรรค์ ปลอดภัย สร้างการเรียนรู้ และสร้างสุข เพื่อทุกคน

โดยมีแผนปฏิบัติการ 4 ด้าน 1. พัฒนาศักยภาพ ทักษะ ส่งเสริมเด็กเยาวชนเป็นพลเมืองอาสา (นักสร้างสรรค์นักสื่อสารนักปฏิบัติการ) 2. พื้นที่ปฏิบัติการ พื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่เรียนรู้ ชุมชนสร้างสรรค์   3. ขับเคลื่อนสื่อสารสาธารณะ รณรงค์ประเด็นเด็กเยาวชน  และการสร้างนิเวศปลอดภัย สร้างสรรค์รอบตัวเด็กเยาวชนและในชุมชน 4. กลไกความร่วมมือ กับทุกภาคส่วน เยาวชน ชุมชน สถาบันการศึกษา ท้องถิ่น ภาคเอกชน  ขับเคลื่อน โคราช เมืองสร้างสรรค์ เมืองส่งเสริมการเรียนรู้  สร้างสุขเพื่อเด็กเยาวชนครอบครัวและทุกคน 

3 ปี โคราชเผชิญ 3 สถานการณ์วิกฤตทางสังคม 

ปี 2563 2565 เครือข่ายเยาวชนโคราชยิ้ม เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใน 7 พื้นที่ มการจัดเวทีพูดคุย ลงสำรวจชุมชน เป็นระยะ พบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นอันดับแรก ๆ คือ ด้านเศรษฐกิจ ไม่มีพื้นที่ในการพบปะสังสรรค์ ขาดพื้นที่ความสัมพันธ์ ส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพกาย  สุขภาพจิต พัฒนาการและทักษะการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนลดน้อยลง เครือข่ายโคราชยิ้ม มีการดำเนินงานทั้งเชิงรุก เชิงรับ โดยแบ่งการทำงานเป็น ระยะสั้น ระยะยาว และแผนการรับมือ ซึ่งแต่ละเหตุการณ์นั้น ก็มีการออกแบบการดำเนินงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์ และความเดือดร้อนของผู้คน ร่วมกันกอบกู้วิกฤต กล่าวคือ 

ในช่วงของการเกิดเหตุความรุนแรงนั้น เชื่อมร้อยความร่วมมือกันกับเครือข่าย ภาคี หลายภาคส่วน มีการประสานงานกลุ่มเพื่อนเครือข่ายทั้งใน และนอกพื้นที่อย่างรวดเร็ว เพื่อดำเนินงานร่วมกันกอดโคราชให้หัวใจอุ่น ในงาน กอดโคราช ด้วยพลังรัก พลังบวก พลังสร้างสรรค์  โดยนำเรื่องศิลปะ สื่อ กิจกรรม และการเล่น มาร่วมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์  เพื่อเยียวยา และฟื้นฟูพลังให้กับเด็กเยาวชนครอบครัวและผู้คน ให้กับชาวโคราช 11 วัน เข้าถึงกลุ่มคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่น้อยกว่า 1,500 คน

ชุมชนสร้างสรรค์ฝ่าวิกฤติ COVID-19  ร่วมกอบกู้ด้วย 3 พลัง พลังพลเมือง พลังชุมชน พลังสร้างสรรค์  ส่งเสริมการเรียนรู้หลากหลาย (การเรียนรู้ทางเลือก) ให้กับเด็กเยาวชน  ส่งเสริมชุมชนทำพื้นที่คลังอาหารในครัวเรือนและพื้นที่สาธารณะชุมชน และส่งเสริมพื้นที่ปันกัน   ไม่น้อยกว่า 20 ชุมชน เข้าถึงเด็กเยาวชนครอบครัว ไม่น้อยกว่า 3,000 คน

ช่วงการเกิดอุทกภัย พลังเยาวชนพลเมือง ร่วมกู้วิกฤต เข้าสำรวจปัญหาผลกระทบในชุมชน และประสานความร่วมมือระดมทรัพยากรเร่งด่วนเข้าไปช่วยแก้บรรเทาทุกข์ในเบื้องต้น จัดการความปลอดภัย ความเสี่ยงจากเชื้อโควิด -19 ดูแลจัดหาของใช้เข้าถึงกลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียง เด็กเล็ก ระดมอาหาร ยา สิ่งของจำเป็นเร่งด่วนส่งตรงถึงกลุ่มชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อน ไม่น้อยกว่า 1,000 ครัวเรือน

6 ปี เครือข่ายโคราชยิ้ม มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้ดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มุ่งส่งเสริมพื้นที่การเรียนรู้ และพลังสร้างสรรค์ของเด็กเยาวชน พลเมืองมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง ชุมชน สังคม เมืองโคราช เป็นเมืองที่น่าอยู่ เมืองสร้างสรรค์ ปลอดภัย สร้างการเรียนรู้ และสร้างสุข เพื่อทุกคน ผ่าน 3 โครงการ   1) โคราชเดิ่นยิ้ม  เครือข่ายเยาวชนพลเมืองอาสาสร้างสรรค์พื้นที่ชุมชน 2) โคราชยิ้ม เล่นอิสระสร้างพลังสุขเพื่อเด็ก (Korat Free pay)   3) โครงการพลังเด็กเยาวชนสร้างสุขสร้างสรรค์ ส่งเสริมสุขภาวะ  และเชื่อมร้อยพลังเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนเทศกาลกลางเมือง 3 ครั้ง เทศกาลงานยิ้ม เดิ่นเล่นสนุกปี 2017 ,เทศกาลยิ้มทั้งเดิ่นปี 2018 , เทศกาลเดิ่นยิ้มเบ่งบาน และเล่นเปลี่ยนโลก ปี 2020 โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรวมกับเครือข่ายงดเหล้าอิสานล่าง รณรงค์สงกรานต์โคราช ไม่ฉวย ไม่เสี่ยง ไม่รุนแรง

 

ก้าว 7 ปี สรุปย่อโคราชเมืองสร้างสรรค์
Last updated: 26 เม.ย 2566  |  78 จำนวนผู้เข้าชม  | 
 

  

 

โคราชยิ้ม... โคราชเดิ่นยิ้ม

เครือข่ายโคราชยิ้ม มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมพื้นที่การเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพเด็กเยาวชน มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ชุมชน สังคม

เครือข่ายโคราชยิ้ม เริ่มดำเนินงานอย่างจริงจัง ในปี 2560 โดยส่งเสริมเด็กเยาวชนกลุ่มแกนนำสู่ความเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ เป็นนักสื่อสาร สู่การเป็นนักปฏิบัติการ พลังเด็กเยาวชนเดิ่นยิ้มปลุกชุมชน ในรูปแบบของ สร้างสรรค์ศิลปะชุมชน  ผลิตสื่อสร้างสรรค์ กระบวนการกิจกรรม ศิลปะการแสดงสร้างสรรค์ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์สร้างการเรียนรู้ในชุมชน และมีกลไกการเชื่อมร้อยเครือข่ายสร้างประเด็นวาระด้านเด็กเยาวชนและพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนสื่อสารสังคม และนโยบาย  โดยกลุ่มเด็กเยาวชนเครือข่ายโคราชยิ้ม สภาเด็กเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา น.ศ.มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล เครือข่ายมหาวิทยาลัยปลอดเหล้า เครือข่ายองค์กรงดเหล้าอิสานล่าง(โคราช) ได้สะท้อนและเสนอประเด็นสถานการณ์ปัญหา เด็กเยาวชนขาดพื้นที่ ขาดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ขาดการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเข้าใจ มีสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ พัฒนา และสร้างสรรค์ มีพฤติกรรมเข้าถึงปัจจัยเสี่ยงได้ง่าย  สิ่งที่เด็กเยาวชนควรได้รับ คือการเข้าถึงปัจจัยด้านบวก สร้างทักษะภูมิคุ้มกัน ทักษะการรู้เท่าทัน ทั้งการสร้างภูมิรู้ ภูมิปัญญาส่งเสริมวิชาชีวิต และวิชาทางสังคม รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง  ที่สำคัญต้องเพิ่มพื้นที่และสื่อสร้างสรรค์ ให้เด็กเยาวชนได้เข้าถึงได้ง่ายและมากขึ้น หากเด็กเยาวชนได้มีกิจกรรมสร้างสรรค์ มีพื้นที่ ที่มีส่วนร่วมสร้างสรรค์กับชุมชน เด็กจะเกิดความภูมิใจ เห็นคุณค่าในตัวเอง ในชุมชน และสังคม ของตนเอง มาช่วยกันให้เด็กเยาวชนได้เติบโตท่ามกลางเมืองสังคม ที่เด็กเยาวชนรู้สึกปลอดภัย และอยากเรียนรู้ ร่วมพัฒนา ร่วมสร้างสรรค์ ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่ ชุมชน เมือง ให้โคราชเป็นเมืองสร้างสรรค์ เมืองน่าอยู่ และมีชีวิตชีวา โดยได้มีการเสนอต่อ 3 ภาคส่วน ต่อเครือข่ายเด็กเยาวชนและคนทำงานด้านเด็กเยาวชน ต่อชุมชนภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม และต่อกลไกหน่วยงานท้องถิ่นและจังหวัด ทำให้เกิดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานเด็กเยาวชนในระดับพื้นที่ มุ่งส่งเสริมพื้นที่การเรียนรู้ และพลังสร้างสรรค์ของเด็กเยาวชน มีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง อยากเห็นโคราช เป็นเมืองที่น่าอยู่ เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเมืองสร้างสรรค์ ปลอดภัย สร้างการเรียนรู้ และสร้างสุข เพื่อทุกคน

โดยมีแผนปฏิบัติการ 4 ด้าน 1. พัฒนาศักยภาพ ทักษะ ส่งเสริมเด็กเยาวชนเป็นพลเมืองอาสา (นักสร้างสรรค์นักสื่อสารนักปฏิบัติการ) 2. พื้นที่ปฏิบัติการ พื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่เรียนรู้ ชุมชนสร้างสรรค์   3. ขับเคลื่อนสื่อสารสาธารณะ รณรงค์ประเด็นเด็กเยาวชน  และการสร้างนิเวศปลอดภัย สร้างสรรค์รอบตัวเด็กเยาวชนและในชุมชน 4. กลไกความร่วมมือ กับทุกภาคส่วน เยาวชน ชุมชน สถาบันการศึกษา ท้องถิ่น ภาคเอกชน  ขับเคลื่อน โคราช เมืองสร้างสรรค์ เมืองส่งเสริมการเรียนรู้  สร้างสุขเพื่อเด็กเยาวชนครอบครัวและทุกคน 



3 ปี โคราชเผชิญ 3 สถานการณ์วิกฤตทางสังคม 

ปี 2563 2565 เครือข่ายเยาวชนโคราชยิ้ม เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใน 7 พื้นที่ มการจัดเวทีพูดคุย ลงสำรวจชุมชน เป็นระยะ พบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นอันดับแรก ๆ คือ ด้านเศรษฐกิจ ไม่มีพื้นที่ในการพบปะสังสรรค์ ขาดพื้นที่ความสัมพันธ์ ส่งผลกระทบทั้งด้านสุขภาพกาย  สุขภาพจิต พัฒนาการและทักษะการเรียนรู้ของเด็กเยาวชนลดน้อยลง เครือข่ายโคราชยิ้ม มีการดำเนินงานทั้งเชิงรุก เชิงรับ โดยแบ่งการทำงานเป็น ระยะสั้น ระยะยาว และแผนการรับมือ ซึ่งแต่ละเหตุการณ์นั้น ก็มีการออกแบบการดำเนินงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์ และความเดือดร้อนของผู้คน ร่วมกันกอบกู้วิกฤต กล่าวคือ 

ในช่วงของการเกิดเหตุความรุนแรงนั้น เชื่อมร้อยความร่วมมือกันกับเครือข่าย ภาคี หลายภาคส่วน มีการประสานงานกลุ่มเพื่อนเครือข่ายทั้งใน และนอกพื้นที่อย่างรวดเร็ว เพื่อดำเนินงานร่วมกันกอดโคราชให้หัวใจอุ่น ในงาน กอดโคราช ด้วยพลังรัก พลังบวก พลังสร้างสรรค์  โดยนำเรื่องศิลปะ สื่อ กิจกรรม และการเล่น มาร่วมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์  เพื่อเยียวยา และฟื้นฟูพลังให้กับเด็กเยาวชนครอบครัวและผู้คน ให้กับชาวโคราช 11 วัน เข้าถึงกลุ่มคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่น้อยกว่า 1,500 คน

ชุมชนสร้างสรรค์ฝ่าวิกฤติ COVID-19  ร่วมกอบกู้ด้วย 3 พลัง พลังพลเมือง พลังชุมชน พลังสร้างสรรค์  ส่งเสริมการเรียนรู้หลากหลาย (การเรียนรู้ทางเลือก) ให้กับเด็กเยาวชน  ส่งเสริมชุมชนทำพื้นที่คลังอาหารในครัวเรือนและพื้นที่สาธารณะชุมชน และส่งเสริมพื้นที่ปันกัน   ไม่น้อยกว่า 20 ชุมชน เข้าถึงเด็กเยาวชนครอบครัว ไม่น้อยกว่า 3,000 คน

ช่วงการเกิดอุทกภัย พลังเยาวชนพลเมือง ร่วมกู้วิกฤต เข้าสำรวจปัญหาผลกระทบในชุมชน และประสานความร่วมมือระดมทรัพยากรเร่งด่วนเข้าไปช่วยแก้บรรเทาทุกข์ในเบื้องต้น จัดการความปลอดภัย ความเสี่ยงจากเชื้อโควิด -19 ดูแลจัดหาของใช้เข้าถึงกลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยติดเตียง เด็กเล็ก ระดมอาหาร ยา สิ่งของจำเป็นเร่งด่วนส่งตรงถึงกลุ่มชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อน ไม่น้อยกว่า 1,000 ครัวเรือน

6 ปี เครือข่ายโคราชยิ้ม มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา ได้ดำเนินงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ มุ่งส่งเสริมพื้นที่การเรียนรู้ และพลังสร้างสรรค์ของเด็กเยาวชน พลเมืองมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลง ชุมชน สังคม เมืองโคราช เป็นเมืองที่น่าอยู่ เมืองสร้างสรรค์ ปลอดภัย สร้างการเรียนรู้ และสร้างสุข เพื่อทุกคน ผ่าน 3 โครงการ   1) โคราชเดิ่นยิ้ม  เครือข่ายเยาวชนพลเมืองอาสาสร้างสรรค์พื้นที่ชุมชน 2) โคราชยิ้ม เล่นอิสระสร้างพลังสุขเพื่อเด็ก (Korat Free pay)   3) โครงการพลังเด็กเยาวชนสร้างสุขสร้างสรรค์ ส่งเสริมสุขภาวะ  และเชื่อมร้อยพลังเครือข่ายร่วมขับเคลื่อนเทศกาลกลางเมือง 3 ครั้ง เทศกาลงานยิ้ม เดิ่นเล่นสนุกปี 2017 ,เทศกาลยิ้มทั้งเดิ่นปี 2018 , เทศกาลเดิ่นยิ้มเบ่งบาน และเล่นเปลี่ยนโลก ปี 2020 โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรวมกับเครือข่ายงดเหล้าอิสานล่าง รณรงค์สงกรานต์โคราช ไม่ฉวย ไม่เสี่ยง ไม่รุนแรง



นิยาม


พื้นที่สร้างสรรค์ หมายถึง พื้นที่เชื่อมร้อยผู้คน ส่งเสริม สร้างให้เกิดปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้คน ครอบครัว พื้นที่ที่สามารถสร้างการเรียนรู้ ทั้งเรียนรู้โดยตัวพื้นที่ หรือองค์ความรู้ พื้นที่ที่มีการจัดการให้ทุกคนสามารถเสข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยต้องเข้าถึงง่าย มีความต่อเนื่อง มีชีวิต สร้างพลังบวกพลังชีวิต
ชุมชนระบบนิเวศสื่อสุขภาวะ หมายถึง ชุมชนที่มีการออกแบบการจัด จัดสภาพแวดล้อม ปลอดภัย สร้างสรรค์ ในชุมชน มีพื้นที่เรียนรู้ พื้นที่ความสัมพันธ์ และพื้นที่การสื่อสาร ให้เป็นพื้นที่ที่ทุกคนเข้าถึงและได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวมของคนในชุมชน ภายใต้การทำงานนำทุนและองค์ความรู้ในพื้นที่ เชื่อมร้อยกลไกที่เกี่ยวข้องในชุมชน และภาคีทางสังคม มาร่วมขับเคลื่อนกู้วิกฤติฟื้นคืนชุมชน ซึ่งในกระบวนการขับเคลื่อนโดยพลเมือง จะนำมาสู่การแก้ปัญหาในชุมชนและช่วยลดช่องว่างระหว่างวัย ลดความเหลื่อมล้ำ กลุ่มชายขอบในชุมชน ให้เข้าถึงโอกาส ในการเข้าถึงสิทธิ และการบริการ ทั้งด้านทรัพยากร ด้านสาธารณสุข สุขภาพ  เพิ่มพื้นที่การเรียนรู้กิจกรรม และสื่อสร้างสรรค์ ให้กับเด็กเยาวชน ช่วยลดวิกฤตอาหารในชุมชน และเสริมสร้างเศรษฐกิจในครัวเรือน ในชุมชน
พื้นที่เล่น หมายถึง อาณาบริเวณที่เด็กสามารถเข้าถึง ซึ่งมีการพัฒนาและจัดการให้เป็นพื้นที่ที่มี การเล่น และกิจกรรมที่สนุกเพลิดเพลิน สร้างการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ สร้างความสุข และมีความปลอดภัย ส่งผลต่อการ  สร้างเสริมสุขภาวะของเด็ก พื้นที่เล่นของเด็กเป็นได้ทุกแห่งที่มีการเล่น ตั้งแต่ ในห้อง พื้นที่ในบ้าน ในชุมชน ในโรงเรียน รวมไปถึงพื้นที่ในธรรมชาติที่มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย โดยได้รับความร่วมมือจากผู้คนในชุมชนท้องถิ่นนั้น 
ผู้ดูแลการเล่นของเด็ก  คือ บุคคลที่มีความสำคัญต่อการเล่นของเด็ก เพราะเป็นผู้ที่สร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นอย่างมีความสุข  สนุกสนาน ส่งเสริมพัฒนาการ และปลอดภัย  ผู้ทำหน้าที่นี้อาจจะเป็น เด็ก เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู และผู้ใหญ่ทุกคน โดยมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะใน 3 เรื่องหลัก เข้าใจเด็ก เปิดผัสสะ ขยายการรับรู้ (Sensing) การฟังด้วยหัวใจ (Deep Listening) พัฒนาการบนฐานความผูกพัน (The Attachment-based Developmental Model) เข้าใจการเล่นอิสระ  พลังแห่งการเล่น (Free Play) ความสำคัญ คุณค่าและประโยชน์ของการเล่น โดยใช้ทฤษฎี Loose parts การเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัยEF และทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 เข้าใจบทบาทผู้ดูแลการเล่น Play Worker ทักษะสำคัญของ Play Worker การประเมินความเสี่ยง การจัดการกับปัญหา เทคนิคการจัดทำพื้นที่เล่นสำหรับเด็กรูปแบบต่างๆ
พลเมือง คือ พลเมืองตื่นรู้ รู้ร้อนรู้หนาว ใส่ใจชุมชนสังคม มุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลง  และเด็กเยาวชนพลเมืองสร้างสรรค์ คือ เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ (Active Citizen) เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) โดยมีทักษะความเป็นพลเมือง นักสื่อสาร (เท่าทันตัวเอง, เท่าทันสื่อ,เท่าทันสังคม) นักออกแบบเมือง (อาหาร,ทรัพยากร,อาชีพ,สวัสดิการ)  นักสร้างการเปลี่ยนแปลง ที่ให้ความสำคัญกับผู้คน ทุกคน ทุกช่วงวัย ทุกสถานะ และใส่ใจกับทุกประเด็นปัญหา (นับรวม ) โดยขับเคลื่อนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งเน้นสู่ความเป็นธรรม  ในการเข้าถึง ทั้งพื้นที่ทางกายภาพ สิทธิ ทรัพยากร สวัสดิการ ฯลฯ ร่วมพัฒนาส่งเสริมพื้นที่ชุมชนเมืองสู่วิถีสร้างสรรค์สุขภาวะ 

เครื่องมือ - กระบวนการ / ชุดความรู้ในการดำเนินงาน


กระบวนการเรียนรู้บนฐานชุมชน เครื่องมือ 3 ดี พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี เป็นกลยุทธในการขับเคลื่อนนำไปสู่การจัดสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก มีพื้นที่ปลอดภัย มีพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่ที่มีชีวิต ในชุมชน 
กระบวนการ 5ส. (สำรวจ ส่วนร่วม สร้างสรรค์ สื่อสาร สร้างการเปลี่ยนแปลง) ชุดความรู้ที่เกิดจากสกัดประสบการณ์การขับเคลื่อนงาน เด็กเยาวชนสร้างสรรค์ ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงชุมชน โดยมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา
ออกแบบลานกิจกรรม และห้องเรียนชุมชน  (สื่อสาร สร้างสรรค์ มีส่วนร่วม)  
กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม บันได 8 ขั้น 
ชุดความรู้ในเรื่อง เท่าทันสื่อ MIDL (Media Information and Digital Literacy) เป็นทักษะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล
ชุดความรู้ Active Citizen : พลเมืองที่มีส่วนร่วม เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
ชุดความรู้ เรื่อง เล่นอิสระ และทักษะผู้ดูแลการเล่น Play Worker
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้  (เรียนรู้ ออกแบบ สร้างสรรค์)   

เกิดเครือข่ายกลุ่มเด็กเยาวชนร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนา ทั้งในโรงเรียนชุมชน ไม่น้อยกว่า 30 กลุ่ม เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่เรียนรู้ ในชุมชน พื้นที่สาธารณะ ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง เกิดครูต้นแบบ นำเรื่องเล่นอิสระไปสู่โรงเรียนระดับประถมศึกษาได้ไม่น้อยกว่า 3 แห่ง เกิดความร่วมมือ และทำงานร่วมกัน ระหว่าง ท้องถิ่น ชุมชนเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอิสานตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล อุทยานการเรียนรู้ TK Square Korat ในการส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมือง ทักษะผู้ดูแลการเล่น Play Worker และส่งเสริมพื้นที่การเรียนรู้ให้กับเด็กเยาวชนครอบครัวและประชาชน

เกิดพลังเด็กเยาวชน 

เป็นพลเมืองสร้างสรรค์ นักสื่อสารสุขภาวะ

เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ กับสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้น รู้ร้อน รู้หนาว มีความใส่ใจ เข้ามามีบทบาทร่วมในการฝ่าวิกฤต ร่วมคิดร่วมจัดการ ออกแบบสร้างสรรค์ กอบกู้ชุมชนในภาวะวิกฤต เช่น การแก้วิกฤตผู้ได้รับผลกระทบ ด้านอาหาร (ทำถุงYoung Food ร้านไข่เจียวอิ่มสุข เปิดครัวชุมชน) ด้านสุขภาพ การเข้าถึงสิทธิ การรักษา การดูแล และวิกฤตการเรียนรู้ของเด็กเยาวชน ส่งถุงกิจกรรมที่เข้าถึงครัวเรือน  มีอบรมทางออนไลน์ สื่อสร้างสรรค์สร้างการเรียนรู้ และกิจกรรมชวนน้องเรียนชวนน้องเล่นในชุมชน
ชุมชนสร้างสรรค์ จัดการตนเองในสภาวะวิกฤต ชุมชนนิเวศสื่อเพื่อสุขภาวะ เชื่อมประสานภาคีเครือข่ายทางสังคม ร่วมสนับสนุนในการฝ่าวิกฤติ ระดมความร่วมมือ ทั้งเรื่องอาหาร ยา ทรัพยากรในการดำรงชีวิต และขับเคลื่อนพื้นที่ความสัมพันธ์ รูปแบบใหม่ เกิดระบบการสื่อสาร ในชุมชน 
ช่วยลดช่องว่าง เสริมข้อจำกัด กลไกรัฐ ในการเข้าถึงสิทธิ และการบริการ (ด้านสาธารณสุข - สุขภาพ) ลดความเหลื่อมล้ำ เช่น แรงงานข้ามชาติ กลุ่มชายขอบในชุมชน ให้เข้าถึงการดูแลด้านอาหาร รักษา และการบริการ ในช่วงวิกฤต
เพิ่มพื้นที่การเรียนรู้กิจกรรม และสื่อสร้างสรรค์ ให้กับเด็กเยาวชน ไปช่วยแก้ภาวะเนือยนิ่ง ติดมือถือ และข้อจำกัดในการเรียนออนไลน
ปี 2565 - ปัจจุบัน เครือข่ายโคราชยิ้ม ดำเนินยุทธศาสตร์พลังเยาวชนพลเมืองปฏิบัติการร่วมกอบกู้ฟื้นคืนชีวิตชุมชน สร้างสรรค์พื้นที่นิเวศสื่อสุขภาวะ โดยร่วมขยับกับกลไก ทั้งภาครัฐ เอกชน  หน่วยงานทั้งในระดับ พื้นที่ ชุมชน จนถึงระดับจังหวัด

พลังเด็กเยาวชนพลเมืองสร้างการเปลี่ยนแปลง ชุมชน สังคม (ยกระดับแกนนำเดิม ขยายกลุ่มใหม่
ชุมชนสร้างสรรค์ นิเวศสื่อสุขภาว ต้นแบบ ยกระดับพื้นที่ฟื้นคืนชีวิตชุมชน
ยกระดับพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่เล่น ห้องเรียนชุมชน พื้นที่เรียนรู้สาธารณะ
ความร่วมมือกลไกภาคส่วน สร้างนิเวศสร้างสุข โคราชเมืองสร้างสรรค์

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ